8 สนามฟุตบอลโลก 2022 เปิดสังเวียนฟาดแข้งฟุตบอลโลกที่ประเทศกาต้าร์

   8 สนามฟุตบอลโลก 2022 เรื่องฟุตบอลน่าสนใจครั้งนี้ จะพาแฟนบอลทุกท่านไปเตรียมความพร้อมก่อนการแข่งขันฟุตบอลแห่งมวลมนุษยชาติ จะเริ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปีหน้าที่ประเทศกาต้าร์ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม

1. อาเหม็ด บิน อาลี สเดเตี้ยม 

     สนามที่ออกแบบมาให้แสดงถึงวัฒนธรรมของชาติกาต้าร์ ที่เป็นเหมือนเมืองแห่งทะเลทราย สนามจึงถูกออกแบบมาให้เข้ากับสภาพวัฒนธรรมของผู้คนในเมือง อัล เรย์ยาน อย่างสวยงาม สนามนี้จะถูกใช้งานในศึกฟุตบอลโลกรอบแบ่งกลุ่ม ในคืนวันที่ 22 พฤศจิกายน 2022 

เปิดใช้งาน : 18 ธันวาคม 2020 
ที่ตั้ง : เมือง Al Rayyan
ความจุ : 40,000 ที่นั่ง 

 

2. อัล บัยต์ สเตเดี้ยม

     สนามที่มีลักษณะพิเศษ ที่มีลักษณะคล้ายเต้นท์ ซึ่งสมาคมฟุตบอลกาต้าร์ ออกแบบมาเพื่อแสดงให้เห็นถึง วัฒนธรรมของชาวกาต้าร์และเหล่านักเดินเรือ ที่ต้องนอนพักในเต้นท์ ซึ่งนอกจากลักษณะของสนามแล้ว บริเวณรอบหน้าแห่งนี้ยังเน้นพื้นที่สีเขียว โดยสมาคมคำนึงถึงหลังการแข่งขันฟุตบอลโลกจบลง ชาวเมืองจะสามรถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

ที่ตั้ง : เมือง  Al Khor 
ความจุ : 60,000 ที่นั่ง

3. อัล จานูบ สเตเดี้ยม

     อีกหนึ่งสนามที่สร้างขึ้นให้มีลักษณะที่จะบ่งบอกลักษณะของเมืองอย่างชัดเจน สนามนี้ตั้งอยู่ในเมือง Al wakrah ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของกรุงโดฮา มีพื้นที่ติดกับทะเล ซึ่งมีฉายาว่าหมู่บ้านไข่มุก ทำให้สนามนี้ถูกออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับไข่มุก หลังคาที่มีสีฟ้า-คราม คล้ายกับสีน้ำทะเล ซึ่งแสดงออกถึงวัตฒนธรรมของชาวเมืองได้อย่างชัดเจน

เปิดใช้งาน : เมื่อปี 20219 
ที่ตั้ง : เมือง Al Wakrah
ความจุ : 40,000 ที่นั่ง

4. อัล ทูมามา สเตเดียม

     สนามที่อยู่ห่างจากใจกลางกรุงโดฮาเพียง 12 กิโลเมตร ซึ่งถือเป็นสนามที่กาต้าร์ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อให้มีลักษณะที่สามารถแสดงออกถึงวัฒนธรรมประจำชาติได้อย่างลงตัว นอกจากนั้นชื่อสนามยังตั้งตามพันธ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ในเมืองนี้อีกด้วย นอกจากนั้นแล้ว สนามนี้ยังเป็นเหมือนสนามที่ใช้เป็น ศูนย์กีฬาแห่งชาติอีกด้วย เพราะสนามนี้จะมีทั้ง ศูนย์การแพทย์ แลเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาของชาติกาต้าร์อีกด้วย 

เปิดใช้งาน : เมื่อปี 2018
ทีตั้ง : Doha
ความจุ : 40,000 ที่นั่ง 

 

5. อดูเคชั่น ซิตี้ สเตเดียม

     สนามแห่งนี้ เป็นเหมือนศูนย์ข้อมูล ของเหล่ามหาวิยาลัยต่าง ๆ ในกาต้าร์ เพราะเป็นทั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาต่าง ๆ ของชุมชน หลังจากจบการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 สนามแห่งนี้จะถูกลดความจุลง จาก 40,000 เหลือเพียง 20,000 ที่นั่งเพื่อปรับปรุงสนามให้ผู้คนในชุมชนสามารถใช้ประโยชน์กับพื้นที่ได้มากขึ้น นอกจากนั้นแล้ว สนามแห่งนี้ยังเน้นพื้นที่สีเขียวรอบ ๆ สนามเพื่อการใช้งานหลังจบฟุตบอลโลกอีกด้วย 

เปิดใช้งาน : 2020 
ที่ตั้ง : เมือง Al-Rayyan
ความจุ : 40,000 ที่นั่ง  

 

6.สนามกีฬานานาชาติคาลิฟา

     อีกหนึ่งสนามที่เป็นประวัติศาสตร์ของวงการฟุตบอลกาต้าร์ เพราะนี้คือหนึ่งในสนามที่เก่าแก่ที่สุดในกาต้าร์ ตั้งอยู่ที่เมือง อัล เรย์ยาน สนามแห่งนี้เคยผ่านการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลในระดับเอเชียมาแทบจะทุกรายการแล้ว ทั้ง เอเชี่ยนเกม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก รวมถึงนัดชิงแชมป์ฟุตบอลสโมสรโลก ที่ลิเวอร์พูลชิงกับ ฟลามิงโก้ อย่างไรก็ตาม สนามแห่งนี้ยังได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แต่ยังคงรักษารูปแบบ และ วัฒนธรรมของสนามเอาไว้เช่นเดิม 

เปิดใช้งาน : 1976 
ที่ตั้ง : เมือง Al rayyan 
ความจุ : 45,416 ที่นั่ง 

7.ลูเซล สเตเดี้ยม

     สนามกีฬาขนาดใหญ่แห่งใหม่ของกาตาร์ นอกจากสนามฟุบอลแล้ว กาต้าร์ ยังได้เนรมิตรพื้นที่รอบสนามในกลายเป็นชุมชม โรงเรียน ร้านค้า เพื่อให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตได้แบบสะดวกสบายหลังจากจบศึกฟุตบอลโลก ท่ามกลาง สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่แห่งนี้ สนามนี้จะกลายเป็นสนามที่ใช้ในเกมนัดชิงชนะเลิศอีกด้วย และสนามแห่งนี้ยังเป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายหนนี้อีกด้วย 

เปิดใช้งาน : 2021
ที่ตั้ง : เมือง Lusail
ความจุ : 80,000 ที่นั่ง 

 

8.Ras Abu Abud   

     อีกหนึ่งไฮไลท์ของสนามฟุตบอลในศึกฟุตบอลโลก 2022 หนนี้ สนาม Ras abu abud ออกแบบให้ภายนอกสนามตกแต่งด้วยการใช้ ตู้คอนเทนเนอร์ และหลังจากการแข่งขันฟุตบอลโลกจบลง สนามนี้จะถูกรื้อทั้งหมด เพื่อนำโครงสร้างของสนามไปใช้พัฒนาส่วนต่าง ๆ เพื่อคุณภาพของประชาชน

เปิดใช้งาน : 2020
ที่ตั้ง : เมือง Doha
ความจุ : 40,000 ที่นั่ง 

ติดตาม :: ข่าวฟุตบอลวันนี้
Facebook fanpage ::  Ufa800daily
เรื่องน่าสนใจอื่น ๆ :: เรื่องฟุตบอลน่าสนใจ